หัวไชเท้า ผักเพื่อสุขภาพ ขับพิษ ละลายไขมัน ช่วยระบบภูมิคุ้มกัน

หัวไซเท้าหรือบางคนเรียก ผักกาดหัวเป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นสั้น ๆ เชื่อมอยู่ระหว่างรากกับใบ ใบเลี้ยงเดี่ยว มีลักษณะทรงยาวรี มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน เป็นที่นิยมปลูกกันทั่วไปในหลายประเทศ ในประเทศไทย มีปลูกหลายสายพันธุ์ เป็นพืชที่มีมาแต่โบราณ มีประโยชน์ และสรรพคุณทางยาหลายอย่าง สามารถรับประทานสดได้ นำมาประกอบอาหารเมนูต่าง ๆ ได้หลายเมนูด้วย

หัวไชเท้า พืชกินหัวใต้ดินที่นิยมนำมาปรุงอาหารชนิดนี้ไม่เพียงมากด้วยสารอาหาร แต่ยังมีสรรพคุณรักษาโรคตามตำรับยาพื้นบ้าน เชื่อกันว่าหัวไชเท้าช่วยป้องกันหรือรักษาปัญหาสุขภาพบางประการได้ เช่น ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง มะเร็ง แผลในกระเพาะอาหาร ริดสีดวง รวมถึงโรคเกี่ยวกับตับทั้งหลาย หัวไชเท้าประกอบด้วยสารอาหารสำคัญหลายชนิด ได้แก่ วิตามินซี วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 6 วิตามินเค โพแทสเซียม โฟเลต แมกนีเซียม แคลเซียม สังกะสี ทองแดง ฟอสฟอรัส แมงกานีส และโซเดียม

โดยเฉพาะวิตามินซีที่มีมากกว่าสารชนิดอื่น ๆ ซึ่งเป็นวิตามินที่มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ และมีบทบาทสำคัญในการสร้างคอลลาเจนซึ่งเป็นปัจจัยของการมีสุขภาพผิวหนังและหลอดเลือดที่ดีมีคุณค่าสารอาหารมากมาย ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก วิตามินเอ วิตามินบี 1 บี12 ไนอาซิน วิตามินซี น้ำมันหอมระเหย รวมทั้งสารต้านมะเร็ง ช่วยระบบทางเดินหายใจ เนื่องจากมีคุณสมบัติดักจับไวรัส แบคทีเรีย และขับเสมหะได้ น้ำคั้นหัวไชเท้า จึงช่วยให้ระบบทางเดินหายใจสะอาด ช่วยระบบทางเดินอาหาร เนื่องจากน้ำคั้นหัวไชเท้า มีเอนไซม์ชนิดที่ใกล้เคียงกับเอนไซม์ที่พบในระบบทางเดินอาหารของมนุษย์ รวมทั้งอะมีลาส และเอสเตอราส ซึ่งช่วยย่อยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน เพื่อให้ร่างกายนำไปใช้ได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ น้ำคั้นไชเท้า ยังช่วยแก้ท้องผูกอีกด้วย

ช่วยล้างพิษ หัวไชเท้าเป็นยาขับปัสสาวะตามธรรมชาติ ช่วยทำความสะอาดไต และมีคุณสมบัติเป็นสารขับพิษ และละลายไขมัน ให้ขับออกทางปัสสาวะ
ช่วยระบบภูมิคุ้มกัน เพราะอุดมไปด้วยมีวิตามินซี หัวไชเท้าจึงช่วยสร้างเม็ดเลือดขาว อีกทั้งยังช่วยซ่อมแซมเซลล์ และเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย นอกจากการดื่มน้ำคั้นไวไชเท้าแล้ว ใบของไชเท้า ก็อุดมไปด้วยวิตามินซีด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ หัวไชเท้ายังเป็นตัวเลือกของการรักษาทางธรรมชาติมาอย่างยาวนาน ทว่าในด้านการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์นั้น การศึกษาสรรพคุณของหัวไชเท้ากับคนโดยตรงมีน้อยมาก พบการศึกษาในสัตว์เป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยเหล่านี้นับว่าเป็นแนวทางสำคัญไปสู่การทดลองที่น่าเชื่อถือในลำดับต่อไป

Scroll to Top