ข้าวต้มปลากะพง เมนูอาหารเช้า อิ่มอร่อย สบายท้อง ถูกใจทุกวัย

ปลาเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีเยี่ยมเมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์ประเภทอื่น สามารถซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่สึกหรอ สร้างกล้ามเนื้อและมีกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ป้องกันโรคความจำเสื่อมในผู้สูงอายุ กระตุ้น การสร้างสารเคมีซีโรโทนินในสมองซึ่งมีฤทธิ์ต้านการซึมเศร้า นอกจากนี้ ยังเป็นสารอาหารสำคัญในการ สร้างเซลล์ประสาทในเด็กและทารกในครรภ์

ปลากะพง ปลาเนื้อสีขาวเนียนแน่นที่อยู่คู่อาหารจานไทยๆ มาอย่างยาวนาน จะเอามาปรุงเป็นเมนูไหนก็อร่อยเด็ดไปเสียหมด ไม่ว่าจะเป็นปลากะพงนึ่งมะนาว ต้มยำปลากะพง ปลากะพงทอดน้ำปลา แกงส้มปลากะพง (กลืนน้ำลายเอื้อกใหญ่) ด้วยความหนาแน่นของเนื้อปลาแล้วนั้นปลากะพงยังมีคุณประโยชน์ต่อร่างกาย เนื้อปลากะพงมีความโดดเด่นที่ความแน่น เนื้อปลาเป็นสีขาวสวยงามเสมอกันมีมันแทรกบางๆ เสมอกันทั่วทั้งชิ้นของเนื้อปลา สิ่งนี้เองจึงเสริมให้เนื้อปลากะพงที่เนื้อแน่นแต่กินอร่อยเพราะมีมันแทรกบางๆ เหมาะกับการทำเมนูต้ม แกง ทอด หรือนึ่งก็รสชาติดี คุณค่าทางสารอาหารของปลากะพง นอกไปจากนั้นเนื้อปลากะพงยังเป็นแหล่งกรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นกรดไขมันดี ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม วิตามินบี3 วิตามินบี12 ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายของเราหลายอย่าง

วัตถุดิบ ข้าวสวยสุก เนื้อปลากะพง ข่าอ่อน ขึ้นฉ่าย กระเทียม เกลือ ผงปรุงรส ซีอิ๊วขาว พริกไทยป่น น้ำเปล่า น้ำมันพืช

วิธีทำ
1.เตรียมหม้อเติมน้ำเปล่ารอจนเดือดใส่ข้าวสวยและเกลือพอประมาณลงไป หลังจากนั้นเมื่อข้าวเม็ดเริ่มบานให้เทน้ำต้มข้าวแยกไว้และพักเอาไว้ก่อนในระหว่างการต้มข้าว จำเป็นต้องคนทุกระยะเพื่อไม่ให้ข้าวติดก้น เมื่อเสร็จแล้วให้นำเข้ามาต้มอีกครั้งจนเดือด
2.หลังจากนั้นให้ใส่เนื้อปลากะพงลงไปเนื้อปลาสุกห้ามคนเด็ดขาด
3.ปรุงรสชาติตามใจชอบใส่ซีอิ๊วขาวและผงปรุงรสให้มีรสชาติกลมกล่อมเป็นอันเสร็จสิ้นการทำข้าวต้มปลาปิดท้ายด้วยการโรยกระเทียมเจียวลงไปนิดหน่อยบวกขึ้นฉ่าย ปิดท้ายอีกนิดด้วยพริกไทยเพิ่มความหอม

ปลากะพงมีส่วนช่วยให้ร่างกายเราได้รับวิตามินดีและวิตามินบีสองซึ่งจะช่วยในการดูดซึมแคลเซี่ยมและช่วยให้ร่างกายเราสามารถเผาผ่านน้ำตาลได้ดียิ่งขึ้นนอกจากนี้สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์การทานปลาทุกวันมีประโยชน์อย่างมากช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดความเครียดต่างๆแนะนำให้ทานปลาทุกวันเพื่อสุขภาพที่ดีสำหรับเราต่อไปในอนาคต ปลานั้นมีมากมายหลายประเภท ถ้าเราจะพูถึงเรื่องของการแยกประเภทปลานั้น ก็คงสุดแท้แต่ว่าจะแยกกันด้วยวิธีใด จะแยกเพื่อประโยชน์ประเภทใด แต่ถ้าจะแยกในทางการแพทย์ แล้วล่ะก็ แยกปลาได้สองประเภทคือ ปลาน้ำจึด กับ ปลาน้ำเค็ม ข้อมูลจากเครือข่ายคนไทยไร้พุงบอกว่า ประเทศไทยเรายังคงบริโภคปลากันน้อยเพียงแค่ 32 กิโลกรัมต่อปี หากเทียบกับประเทศสหรัฐอเมริกาบริโภค 50 กิโลกรัมต่อปี ญี่ปุ่น บริโภค 69 กิโลกรัมต่อปี

Scroll to Top